การเชื่อมโลหะที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันมีอยู่ด้วยกันหลายวิธี การเชื่อมใต้ฟลักซ์ ก็เป็นหนึ่งในนั้น โดยมันเป็นกระบวนการเชื่อมที่ใช้ความร้อนจากอาร์คไฟฟ้า ส่งไปยังลวดเชื่อมเปลือยและชิ้นงานโลหะ ผ่านการพึ่งพาอุปกรณ์ป้อนลวดก่อนจะเริ่มต้นกระบวนการ ซึ่งในระหว่างที่ช่างกำลังเชื่อมโลหะ ก็จะมีผงฟลักซ์แบบเม็ด ไหลลงมาอย่างต่อเนื่องจากถังใส่ฟลักซ์ลงมาคลุมยังบริเวณอาร์คขณะที่ลวดเชื่อมเคลื่อนที่ไปจนสุดแนว โดย เมื่อผงฟลักซ์ได้รับความร้อนจากการอาร์ค มันก็จะหลอมละลายกลายเป็น สแลก ปกคลุมแนวเชื่อม ขณะเดียวกันหากผงฟลักซ์ส่วนใดที่ไม่หลอมเหลวเนื่องจากไม่โดนจุดความร้อน ช่างก็สามารถเก็บนำกลับมาใช้ใหม่ได้อีกครั้ง
การเชื่อมใต้ฟลักซ์ เหมาะกับงานแบบใด
วิธีดำเนินการอาร์คของการเชื่อมแบบเหล็กประเภทนี้จะต้องทำในบริเวณใต้ฟลักซ์ โดยมันส่งผลให้ช่างไม่ถูกแสงที่เกิดจากการอาร์คส่องเข้าตา รวมถึงปริมาณควันเชื่อมก็มีน้อย ไม่มีเศษเม็ดเม็ดโลหะกระเด็นออกมา เพราะฉะนั้นการเชื่อมแบบวิธีนี้มันจึงเหมาะกับการเชื่อมโลหะที่มีความหนาและต้องการกระแสไฟสูง รวมถึงงานที่มีความต้องการแนวเชื่อมที่สม่ำเสมอ แต่ถึงประสิทธิภาพการใช้งานของวิธีนี้จะดีสักเท่าไหร่ มันก็ต้องแลกมากับต้นทุนที่ค่อนข้างแพงพอสมควร
อุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการเชื่อมใต้ฟลักซ์
1.เครื่องเชื่อม
2.หัวเชื่อม
3.ถังฟลักซ์
4.ระบบป้อนลวดเชื่อม
องค์ประกอบของการเชื่อมใต้ฟลักซ์
1.แรงเคลื่อนไฟฟ้าขณะเชื่อม
2.กระแสเชื่อม
3.ความหนาและความกว้างของชั้นฟลักซ์ที่ปกคลุมบนแนวเชื่อม
4.ปริมาณความยาวของลวดเชื่อมที่ยื่นออก
5.ความเร็วในการเชื่อม
6.การปรับตำแหน่งลวดเชื่อม
ข้อดีของการเชื่อมใต้ฟลักซ์
1.เมื่อมีการเชื่อม ของเหลวจากการหลอมละลายจะซึมเข้าไปในเนื้อโลหะได้เป็นอย่างดี อีกทั้งช่างยังสามารถเชื่อมซ้อนได้หลายแนว รวมถึงการเชื่อมในชิ้นงานที่มีความหนา ซึ่งมันแทบจะไม่ส่งผลใด ๆ ต่อการเช่าแบบเหล็กบิดรูปของชิ้นงานเลย
2.ช่างไม่จำเป็นต้องสวมใส่หน้ากากกำบังให้เกะกะ เนื่องจากแสงในขณะการอาร์คจะอยู่
ใต้ฟลักซ์ ทำให้ไม่ส่องโดนตาช่าง รวมถึงยังไม่มีการกระเด็นของเม็ดโลหะใส่อีกด้วย
3.ช่างไม่ต้องกังวลว่าชิ้นงานจะเกิดการผิดรูปไปจากข้อกำหนด เพราะรูปร่างแนวเชื่อมมีความสม่ำเสมอ แนวเชื่อมมีความละเอียดสูง ซึ่งสามารถทดสอบได้ด้วยวิธีการ X-Ray
4.ประสิทธิภาพความเร็วในการเชื่อม และอัตราการเติมลวดเชื่อมสูง เหมาะอย่างยิ่งกับการงานเชื่อมพอกผิวและงานเชื่อมโลหะแผ่นหนา
5.ช่างไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมายืนบากร่องรอยต่อให้ลึกมากเป็นพิเศษเพื่อประหยัดเวลาการใช้ลวดเชื่อม เนื่องจากวิธีการเชื่อมใต้ฟลักซ์จะให้การหลอมเหลวซึมลึกได้ดีกว่าวิธีอื่น ซึ่งโลหะที่มีความหนาตั้งแต่ขนาดเบอร์ 16 ถึงความหนา ½ นิ้ว ช่างไม่จำเป็นต้องบากร่อง
หากงานที่คุณกำลังจะเชื่อมเป็นงานที่มีความหนาและต้องการความละเอียด ต้องการความประหยัดเวลา วิธีการเชื่อมใต้ฟลักซ์ สามารถช่วยคุณได้อย่างแน่นอน